ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยความร่วมมือระดับนานาชาติหัวข้อ “GBAS (Ground-based augmentation system) Proof-of-Concept” ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ปี 2020 ถึงปี 2023 หน่วยงานหลักที่สนับสนุนทุนวิจัยได้แก่ Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) and the Ministry of Land, Infrastructure, Transport, and Tourism (MLIT) ประเทศญี่ปุ่น
(หมายเหตุ – เทคโนโลยี GBAS คือเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการนำร่องอากาศยานเพื่อลงจอดรันเวย์ ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมจีพีเอส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงจอดรันเวย์)
🌐ทั้งนี้มีหน่วยงานทั้งสองประเทศที่ได้เข้าร่วมงานคือ
1) Japan Civil Aviation Bureau (JCAB)
2) บริษัท NEC Corporation
3) Electronic Navigation Research Institute (ENRI)
4) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
5) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
6) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์)
📌วัตถุประสงค์
1) ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ GBAS บริเวณสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
2) ทำการทดลองเทคโนโลยี GBAS ในเขตพื้นที่ละติจูดต่ำ (วัดจากสนามแม่เหล็กโลก) เนื่องจากเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สม่ำเสมอชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ โดยจะมีการพัฒนา Threat model สำหรับมาตรฐาน GBAS
3) ทำการประเมินเทคโนโลยี GBAS โดยทำการบินอากาศยานจริง
🌐แผนดำเนินงาน
2020 – ทำการศึกษาข้อมูลจากชั้นบรรยากาศไอโอโนเฟียร์เพื่อสร้าง Threat model, การสำรวจสถานที่ก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์, การจัดเตรียมอุปกรณ์
2021 – การพัฒนา Threat model, การก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์
2022 – การประเมินอุปกรณ์ที่ติดตั้ง, การเตรียมสาธิตเที่ยวบิน
📡หน้าที่หลักในส่วนของทีมวิจัยจากสถาบันฯ คือการศึกษาความไม่สม่ำเสมอในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (ที่ความสูง 250 กิโลเมตรถึง 1,000 กิโลเมตรจากพื้นดิน) ทั้งในช่วงที่ชั้นบรรยากาศสงบและเกิดความแปรปรวน โดยใช้ข้อมูลจีเอ็นเอสเอส (GNSS) และเป็นที่ตั้งอุปกรณ์ Ionospheric Front Monitor (IFM) เพื่อการศึกษาวิจัยต่อไป
📌ผลลัพธ์สำคัญจากโครงการวิจัยนี้คือการแสดงถึงความสามารถของเทคโนโลยี GBAS และความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่อไปในระดับเอเชียแปซิฟิก