- 24 สิงหาคม พ.ศ. 2503 : ได้มีพิธีลงนาม ในข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคม นนทบุรีขึ้น
- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 : เริ่มดำเนินการสอนเป็นครั้งแรกใน 2 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตร 6 เดือน สำหรับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพนักงานองค์กรในสายงานโทรคมนาคม และหลักสูตร 1 ปี สำหรับนักเรียน ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข
- 1 พฤษภาคม 2507 : ศูนย์ฝึกโทรคมนาคม นนทบุรี ได้เปลี่ยนฐานะเป็น “วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี”
- 24 เมษายน 2514 : ได้รวมวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เข้าด้วยกัน และจัดตั้งเป็น “สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า”
- 24 สิงหาคม 2517 : วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนสถานภาพเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ศูนย์นนทบุรี
- 29 มิถุนายน พ.ศ.2517 : ได้มีการโอนสังกัดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จากกระทรวงศึกษา มาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนคำว่า ศูนย์ เป็น วิทยาเขต ได้มีการสร้างวิทยาเขตแห่งใหม่ขึ้นที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ในที่ดินของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ในเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่
- พ.ศ.2522 : วิทยาเขตนนทบุรีลาดกระบังเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- พ.ศ.2525 : คณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาเอก หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ไฟฟ้า เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
- พ.ศ. 2503 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
- พ.ศ. 2519 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- พ.ศ. 2519 : จัดตั้งภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
- พ.ศ. 2519 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- พ.ศ. 2521 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- พ.ศ. 2525 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
- พ.ศ. 2525 : จัดตั้งศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์
- พ.ศ. 2530 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
- พ.ศ. 2533 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- พ.ศ. 2537 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- พ.ศ. 2538 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอาหาร
- พ.ศ. 2540 : จัดตั้งโครงการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- พ.ศ. 2543 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม
- พ.ศ. 2544 : จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
- พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน : วิศวลาดกระบังได้พัฒนาหลักสูตรใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักศึกษายุค 4.0 เช่น หลักสูตรป้องกันประเทศ หลักสูตร Computer Innovation Engineering หลักสูตร International Program เป็นต้น และยังได้รับความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้าง “ยุววิศวกร” โดยใช้ต้นแบบของ KOSEN ประเทศญี่ปุ่น เปิดรับนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาต่อที่ สจล. ระยะเวลา 5 ปี