ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยความร่วมมือระดับนานาชาติหัวข้อ “GBAS (Ground-based augmentation system) Proof-of-Concept” ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ระยะเวลาโครงการตั้งแต่ปี 2020 ถึงปี 2023 หน่วยงานหลักที่สนับสนุนทุนวิจัยได้แก่ Ministry of Internal Affairs and Communications (MIC) and the Ministry of Land, Infrastructure, Transport, and Tourism (MLIT) ประเทศญี่ปุ่น
(หมายเหตุ – เทคโนโลยี GBAS คือเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการนำร่องอากาศยานเพื่อลงจอดรันเวย์ ด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมจีพีเอส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงจอดรันเวย์)
ทั้งนี้มีหน่วยงานทั้งสองประเทศที่ได้เข้าร่วมงานคือ
1) Japan Civil Aviation Bureau (JCAB)
2) บริษัท NEC Corporation
3) Electronic Navigation Research Institute (ENRI)
4) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
5) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
6) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์)
วัตถุประสงค์
1) ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ GBAS บริเวณสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
2) ทำการทดลองเทคโนโลยี GBAS ในเขตพื้นที่ละติจูดต่ำ (วัดจากสนามแม่เหล็กโลก) เนื่องจากเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สม่ำเสมอชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ โดยจะมีการพัฒนา Threat model สำหรับมาตรฐาน GBAS
3) ทำการประเมินเทคโนโลยี GBAS โดยทำการบินอากาศยานจริง
แผนดำเนินงาน
2020 – ทำการศึกษาข้อมูลจากชั้นบรรยากาศไอโอโนเฟียร์เพื่อสร้าง Threat model, การสำรวจสถานที่ก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์, การจัดเตรียมอุปกรณ์
2021 – การพัฒนา Threat model, การก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์
2022 – การประเมินอุปกรณ์ที่ติดตั้ง, การเตรียมสาธิตเที่ยวบิน
หน้าที่หลักในส่วนของทีมวิจัยจากสถาบันฯ คือการศึกษาความไม่สม่ำเสมอในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (ที่ความสูง 250 กิโลเมตรถึง 1,000 กิโลเมตรจากพื้นดิน) ทั้งในช่วงที่ชั้นบรรยากาศสงบและเกิดความแปรปรวน โดยใช้ข้อมูลจีเอ็นเอสเอส (GNSS) และเป็นที่ตั้งอุปกรณ์ Ionospheric Front Monitor (IFM) เพื่อการศึกษาวิจัยต่อไป
ผลลัพธ์สำคัญจากโครงการวิจัยนี้คือการแสดงถึงความสามารถของเทคโนโลยี GBAS และความร่วมมือในระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่อไปในระดับเอเชียแปซิฟิก